วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์สากล

การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์สากล การแบ่งสมัยทางประวัติศาสตร์ การศึกษาเรื่องราวในประวัติศาสตร์ไทย สามารถแบ่งช่วงในการศึกษาได้เป็น 2 ช่วง ได้แก่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์
1) สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แบ่งเป็น ยุคหินและยุคโลหะ
2) สมัยประวัติศาสตร์ แบ่งเป็น สมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ และสมัยปัจจุบัน


ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยทั่วไปหมายถึงช่วงเวลาที่ไม่มีการบันทึกเรื่องราวต่างๆ โดยมนุษย์ (ในบางครั้งหมายถึง ช่วงเวลาก่อนมีอารยธรรมมนุษย์)แบ่งเป็น ยุคหิน (Stone Age) แบ่งออกเป็นยุคย่อยๆ 3 ยุค คือ ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่
ยุคหิน (Stone Age) หมายถึง ช่วงเวลาสมัยบรรพบุรุษมนุษย์สร้างเครื่องมือจากหิน ไม้ และกระดูก หรือวัสดุอื่น ๆ เป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิต โดยมีหินลักษณะเฉพาะที่ใช้ในการตัดสิ่งของต่าง ๆ ที่เรียกว่าฟลินต์ (flint)
ยุคหินเก่า (Paleolithic Period หรือ Old Stone Age) ประมาณ 500,000 ปีล่วงมาแล้ว มนุษย์ในยุคนี้เริ่มทำเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยหินอย่างง่ายก่อน










ยุคหินกลาง (Mesolihic Period หรือ Middle Stone Age) เป็นช่วงเวลาระหว่างยุคหินเก่ากับยุคหินใหม่ ในช่วงเวลาประมาณ 10,000 - 5,000 ปีที่แล้ว เป็นเวลาที่มนุษย์ในช่วงเวลานี้เริ่มมีการนำวัสดุธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ เช่น ทำตะกร้าสาน ทำรถลาก และเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินก็มีความประณีตมากขึ้น ตลอดจนรู้จักนำสุนัขมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง


ยุคหินใหม่ ( Neolihic Period หรือ New Stone Age) โดยอยู่ในช่วงเวลาประมาณ 5,000 - 2,000 ปีที่แล้ว โดยเป็นช่วงเวลาระหว่างยุคหินกลางกับยุคโลหะซึ่งมนุษย์ในยุคนี้อาศัยรวมกันอยู่เป็นหมู่บ้าน ดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ การเพาะปลูกได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์จากสังคมล่าสัตว์มาเป็นสังคมเกษตรกรรม ที่ตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง มีการสร้างที่พักอาศัยถาวรเป็นกระท่อมดินเหนียวและตั้งหลักแหล่งตามบริเวณลุ่มน้ำ ยุคหินใหม่เป็นยุคเกษตรกรรม
ยุคโลหะ โลหะชนิดแรกที่มนุษย์รู้จักนำมาหลอมเป็นเครื่องมือเครื่องใช้คือทองแดงปรากฏหลักฐานในบริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทิสนำทองแดงมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เมื่อประมาณ 4,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช
ยุคโลหะ (Metal Age) แบ่งออกเป็น 3 ยุคย่อยคือ ยุคทองแดงปนหิน ยุคสำริด และยุคเหล็ก






การแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์ยุโรปความนิยมในการแบ่งยุคสมัยของประวัติศาสตร์ยุโรปมักแบ่งเป็น 3 สมัย ได้แก่
สมัยโบราณ (Ancient History)
สมัยกลาง (Medieval History)
สมัยใหม่ (Modern History)


สมัยโบราณ เริ่มประมาณ 3,500 ปีก่อนค.ศ. เมื่อมนุษย์ประดิษฐ์อักษรถึง ค.ศ.476 เมื่อจักรวรรดิโรมันสิ้นสุดเพราะการรุกรานของพวกอนารยชนเยอรมัน


-สมัยกลาง เริ่มค.ศ.476 หลังสิ้นสุดจักรววรดิโรมัน จนถึงค.ศ.1492 เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ค้นพบทวีปอเมริกา

-สมัยใหม่ เริ่มจากค.ศ.1492 เมื่อยุโรปขยายอำนาจและอิทธิพลไปยังส่วนต่างๆของโลก ทำให้มีผลต่อความเจริญของโลกสมัยใหม่ จนถึงค.ศ.1945 เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

-สมัยปัจจุบันหรือร่วมสมัย เริ่มจากค.ศ.1945 จนถึงเหตุการณ์และความเจริญปัจจุบัน มีผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน


การกำหนดเวลาเริ่มต้นของแต่ละสมัยสมัยนั้นยังไม่เป็นที่ยุติ เช่น นักประวัติศาสตร์บางท่านถือเอาว่าประวัติศาสตร์สมัยกลางเริ่มต้นใน ค.ศ. 284 อันเป็นปีที่จักรพรรดิไดโอคลิเซียน (Diocletian) ขึ้นครองราชย์ แต่บางท่านก็เห็นว่าควรเริ่มต้นใน ค.ศ. 476 ปีที่อาณาจักรโรมันตะวันตกล่มสลายลง เป็นต้น
การแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์ไทยในอดีตการจัดแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ของไทยนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแสดงพระทัศนะไว้ในพระนิพนธ์เรื่อง "ตำนานหนังสือพระราชพงศาวดาร" ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาเมื่อ พ.ศ. 2457 ถึงการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของไทยไว้ว่า "เรื่องพระราชพงศาวดารสยาม ควรจัดแบ่งเป็น 3 ยุค คือ เมื่อกรุงสุโขทัยเป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานียุค 1"
ส่วน ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์เสนอถึงหัวข้อสำคัญที่ควรเป็นแกนกลางของประวัติศาสตร์แห่งชาติไทยไว้ 8 หัวข้อ ดังนี้
การตั้งถิ่นฐานของผู้คน นับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ถึงยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น
การเข้ามาของอารยธรรมใหญ่ คืออินเดียและจีน
ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 13


ยุคสมัยของการค้า (คริสต์ศตวรรษที่ 15-17)
ประเทศไทยก่อนสมัยใหม่
รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม
การปฏิวัติ 2475 และกำเนิดรัฐประชาชาติในทางทฤษฎี
การปฏิวัติ 14 ตุลาคม 2516
ส่วนใหญ่ยึดถือหลักเกณฑ์ของประวัติศาสตร์สากล แบ่งเป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย และสมัยประวัติศาสตร์ไทย โดยแบ่งตามนี้
-สมัยโบราณหรือสมัยก่อนสุโขทัย ตั้งแต่พ.ศ.1180 ถึง พ.ศ.1792
-สมัยสุโขทัย ตั้งแต่พ.ศ.1792 ถึง พ.ศ.2006
-สมัยอยุธยา ตั้งแต่พ.ศ.1893 ถึง พ.ศ.2310
-สมัยธนบุรี ตั้งแต่พ.ศ.2310 ถึง พ.ศ.2325
-สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่พ.ศ.2325 ถึงปัจจุบัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น