วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การนับและเทียบศักราชสากลและไทย

1.การนับศักราชสากลที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันคือ คริสต์ศักราช ซึ่งเป็นศักราชของคริสต์ศาสนา เริ่มนับเมื่อพระเยซู(ประสูติ) ซึ่งเป็นศาสนาของคริสต์ศาสนาประสูติ นับเป็นคริสต์ศักราช 1 (ค.ศ.1) หรือ A.D.1 ย่อมาจากคำว่า “Anno Domini”
2.การนับศักราชไทย ที่ใช้กันปัจจุบัน คือพุทธศักราช ซึ่งเป็นศักราชของพระพุทธศาสนา คือ พ.ศ.1 หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว 1 ปี คือ ปีแรกนับเป็นพ.ศ.๐ เมื่อครบ 1 ปี จึงเริ่มนับ พ.ศ.1
นอกจากนับศักราชเป็นแบบ พ.ศ. แล้ว ในเมืองไทยยังมีการนับศักราชแบบอื่น ๆ ด้วย คือ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) มหาศักราช (ม.ศ.) มีเกณฑ์การเทียบดังนี้
ร.ศ. + ๒๓๒๔ = พ.ศ.

พ.ศ. - ๒๓๒๔ = ร.ศ.

จ.ศ. + ๑๑๘๑ = พ.ศ.

พ.ศ. - ๑๑๘๑ = จ.ศ.

ม.ศ. + ๖๒๑ = พ.ศ.

พ.ศ. - ๖๒๑ = ม.ศ.

หลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล
- แบ่งต่ามความเจริญทางอารยธรรมของมนุษย์
- แบ่งตามการเริ่มต้นของเหตุการณ์สำคัญ
- แบ่งตามชื่อจักรวรรดิ หรืออาณาจักรที่สำคัญที่เคยรุ่งเรือง
- แบ่งตามราชวงศ์ที่ปกครองประเทศ
- แบ่งตามการตั้งเมืองหลวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น